29948 VIEW | 7 ธ.ค. 61
วัดพระเชตุพน
จารึกวัดโพธิ์...เส้นทางสู่มรดก ความทรงจำ แห่งโลก
โดย..ประภาพร จันทรัศมี
นักวิเทศสัมพันธ์ชำ นาญการ สำ นักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ
ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของไทย เป็นศาสตร์ และศิลป์ที่ได้รับการสืบทอดมาแต่โบราณกาล จนเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม โลกมาช้านาน และในปีนี้นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ ประกาศรับรองขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก (Memory of the World) เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ยังความภาคภูมิใจแก่คนไทยทุกคนเป็นอย่างยิ่ง
หากย้อนกลับไปเมื่อ ๑๙ ปีที่ผ่านมา พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การยูเนสโก ได้ริเริ่มจัดตั้งแผนงานมรดกความทรงจำ แห่งโลก (Memory of the World) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์และเผยแพร่มรดก ภูมิปัญญาของโลก ซึ่งเป็นเอกสารหรือวัตถุที่สะท้อนถึงความหลากหลาย ในด้านวัฒนธรรม และความคิดริเริ่มของมนุษยชาติ หรือข้อมูลข่าวสาร ต่างๆ ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ โดยเชิญชวนให้ ประเทศสมาชิกของยูเนสโกจัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำ แห่งโลก เพื่อพิจารณาสำ รวจและขึ้นทะเบียนมรดกความ ทรงจำของชาติที่ควรจะอนุรักษ์ สืบทอดเรียนรู้ และเผยแพร่ให้กว้างขวาง ในยุคของเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย ซึ่งหากมีมรดกความทรงจำ รายการใดมีคุณค่าควรแก่การขึ้นทะเบียนในระดับภูมิภาคและระดับโลก ให้ดำ เนินการเสนอไปยังองค์การยูเนสโก เพื่อพิจารณาและประกาศ ขึ้นทะเบียนในระดับที่เหมาะสมต่อไป
ในการนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำ นักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ แต่งตั้งคณะ กรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำ แห่งโลก ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็น ประธานกรรมการ และคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่เอกสารมรดกภูมิปัญญาไทย จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำ หน้าที่พิจารณาสำ รวจและขึ้นทะเบียนมรดก ความทรงจำ ของชาติที่ควรจะอนุรักษ์ สืบทอดเรียนรู้ และเผยแพร่สู่ สาธารณชน
ผลจากการดำ เนินงานอย่างต่อเนื่องของคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ได้พิจารณานำ เสนอมรดกความทรงจำ ของชาติให้องค์การยูเนสโกพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำ ของโลกในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และระดับนานาชาติ จำ นวน ๔ รายการ ตามลำดับ ดังนี้
๑. จารึกพ่อขุนรามคำ แหง ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก ในระดับนานาชาติ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
๒. จารึกวัดโพธิ์ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในระดับ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
๓. เอกสารจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการบริหารการปกครองประเทศสยาม พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓
ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในระดับนานาชาติ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
๔. จารึกวัดโพธิ์ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในระดับ นานาชาติ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ส่วนกระบวนการนำ เสนอจารึกวัดโพธิ์ขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำ แห่งโลกนั้น คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ได้ดำ เนินการอย่างมีขั้นตอนมาโดยลำ ดับ เริ่มจากการประชุมพิจารณา ถึงคุณค่าและความสำคัญของจารึกวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ในสรรพวิชา ต่างๆ ของบรรพชนไทย ด้วยเหตุนี้ จึงเสนอให้จัดการสัมมนาเครือข่าย ระดับชาติด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาไทย ครั้งที่ ๒ เรื่อง การเสนอจารึกวัดพระเชตุพน เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อระดมความรู้และข้อคิดเห็น ต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับการสนับสนุน จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวง วัฒนธรรม
ต่อมาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ได้ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวม และประมวลคุณค่าความสำคัญของจารึก วัดโพธิ์ พร้อมทั้งพิจารณานำ เสนอจารึกวัดโพธิ์ต่อองค์การยูเนสโก เพื่อขึ้น ทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ในเวลาต่อมา องค์การยูเนสโกได้จัดการประชุมคณะกรรมการของ ยูเนสโก แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยแผนงานความทรงจำ แห่งโลก (UNESCO Memory of the World Committee for the Asia Pacific Regional - MOWCAP) เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย มีมติรับรองจารึกวัดโพธิ์ขึ้นทะเบียน เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงมีคุณูปการต่อการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ) และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายพงศกร อรรณนพพร) ได้ ร่วมกันถวายประกาศนียบัตรมรดกความทรงจำแห่งโลกในระดับภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก แด่พระธรรมปัญญาบดี เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน
ต่อมาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำ โลกได้ เล็งเห็นว่าเนื้อหาของจารึกวัดโพธิ์มีผลต่อมวลมนุษยชาติในวงกว้าง จึง พิจารณานำ เสนอจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลกในระดับ นานาชาติต่อไป และใน พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการอนุรักษ์และเผยแพร่จารึกวัดโพธิ์ โดยมี ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งกำ หนดให้มีการ ประชุมอย่างต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อระดมความรู้และข้อคิดเห็นในการจัด ทำ แผนการอนุรักษ์และเผยแพร่จารึกวัดโพธิ์ตามหลักการอนุรักษ์สากล ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณานำ เสนอกรอบดำ เนินงานต่อองค์การ ยูเนสโก เป็น ๔ กลุ่ม คือ
๑. การสำ รวจและจัดทำ ทะเบียนจารึกวัดโพธิ์
๒. การบันทึกข้อมูลทะเบียนเข้าสู่ระบบดิจิตอล
๓. การจัดทำแผนการอนุรักษ์จารึกวัดโพธิ์
๔. การเผยแพร่ข้อมูลจารึกวัดโพธิ์
ผลการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผนงาน ความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ ๑๐ (The Tenth Meeting of the International Advisory Committee for the Memory of the World Programme of UNESCO) ณ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร องค์การยูเนสโกได้มีมติรับรองให้ จารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลกในระดับนานาชาติ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔
จากการที่จารึกวัดโพธิ์ได้รับการประกาศยกย่องเป็นมรดกความ ทรงจำ แห่งโลกครั้งนี้ ยังผลให้คุณค่าของภูมิปัญญาไทยเป็นที่ยอมรับ อย่างกว้างขวางในสังคมโลก ด้วยจารึกวัดโพธิ์เป็นแหล่งเรียนรู้ที่บรรพชน ได้สร้างสรรค์ไว้ให้แก่ลูกหลาน ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดองค์ความรู้ ให้คงอยู่เป็นมรดกความทรงจำ แห่งชาติและมรดกความทรงจำ แห่งโลก สืบไปในกาลเบื้องหน้า