HOME / Article / โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์

โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์


29412 VIEW | 7 ธ.ค. 61
วัดพระเชตุพน


โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์
อรวรรณ ทรัพย์พลอย


   หากจะกล่าวถึงความวิจิตรงดงามของวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดคู่พระนคร คงเป็นภาพที่ติดตาตรึงใจอยู่ในความรู้สึกของผู้คนในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นอย่างยิ่ง สะท้อนให้เห็นจากบทกวีนิพนธ์ในสมัยนั้น ที่ล้วนชื่นชมต่อ ความสวยงามของพระอารามแห่งนี้ซึ่งเปรียบประดุจเมืองสวรรค์ ดังเช่น กวีนิพนธ์ เรื่อง นิราศพระแท่นดงรัง ของนายมี๑ ที่กล่าวถึงวัดโพธิ์ความ ตอนหนึ่งว่า โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์

   วัดโพธิ์ หรือต่อมาคือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอาราม หลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้าง ขึ้นในสมัยอยุธยาราวรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑ - ๒๒๔๖) ในเวลานั้นยังมีฐานะเป็นเพียงวัดราษฎร์เล็กๆ อยู่ในเขตตำ บลบางกอก ปากนํ้าเจ้าพระยา เดิมชื่อว่า วัดโพธาราม แต่เป็นที่รู้จักเรียกขานกันทั่วไป ในนามว่า วัดโพธิ์

  ต่อมาในสมัยธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยา ครั้งนั้นทรงกำ หนดเขตสองฝั่งแม่นํ้าเจ้าพระยาให้อยู่ในเขตกลางเมืองหลวงวัดโพธาราม ซึ่งอยู่ในเขตพระนครฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง และมี พระราชาคณะปกครองนับแต่นั้นเป็นต้นมา 

  ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระปฐมบรมกษัตริย์แห่ง พระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย ราชธานีมาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เวลานั้นวัดโพธาราม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ปรากฏหลักฐานจาก พระราช พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จพระราชดำ เนิน ทอดพระเนตรเห็นวัดมีความชำ รุดปรักหักพังมากแล้ว มีพระราชศรัทธา จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์งดงามทั้งพระอาราม จึงโปรดให้เริ่มการ บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหาร พระระเบียง ตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ที่จำ เป็นอื่นๆ นับแต่ พ.ศ. ๒๓๓๖ เป็นต้นมา เมื่อสร้างถาวรวัตถุแล้ว โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดร้างตามหัวเมืองต่างๆ มาประดิษฐาน เป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระวิหารทิศ และพระระเบียงชั้นนอก ส่วนชั้นในเขียนเรื่องชาดกห้าร้อยห้าสิบพระชาติในการนี้ มีพระราชดำ ริ โปรดให้จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ ๑ (ปัจจุบัน ประดับอยู่ที่ผนังพระวิหารทิศพระพุทธโลกนาถ) เป็นจดหมายเหตุ ปรากฏให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้จดจำ นับเป็นจารึกที่เก่าแก่ที่สุด อายุ กว่า ๒๐๐ ปี นอกจากนี้ ยังโปรดให้จารึกตำ รายา และปั้นรูปฤาษีแสดง ท่าดัดตนไว้เป็นวิทยาทานแก่ราษฎรที่ศาลารายด้วย การบูรณปฏิสังขรณ์ ใช้เวลาทั้งสิ้น ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ ในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉลองพระอารามขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๔๔ พระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” (ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ทรงแปลงสร้อยนามวัดใหม่เป็นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) เป็น พระอารามหลวงที่มีความสำคัญในฐานะเป็นวัดประจำ รัชกาล

  ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มีพระราชดำ ริว่า วัดพระเชตุพนมีสภาพชำ รุดทรุดโทรมมาก เพราะ ว่างเว้นจากการบูรณปฏิสังขรณ์เป็นเวลากว่า ๓๐ ปี จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งพระอาราม นับแต่ พ.ศ. ๒๓๗๕ โดยครั้งนั้นทรงกำ หนดให้พระบรมวงศานุวงศ์เป็นแม่กอง กำกับงาน และข้าทูลละอองธุลีพระบาทแบ่งหน้าที่เป็นนายด้านรับผิดชอบ การบูรณปฏิสังขรณ์คนละส่วน ในการนี้ พระองค์ได้พระราชทานมรดก อันลํ้าค่า ซึ่งล้วนเป็นภูมิปัญญาของคนไทยให้เป็นสมบัติของชาติ คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เหล่าบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกัน ตรวจสอบชำ ระตำ ราสรรพวิทยาความรู้ต่างๆ เช่น ตำ รากวีนิพนธ์ ตำ รา แพทย์แผนโบราณ ตำ รายา ฯลฯ พิจารณาเลือกสรรแต่ฉบับที่ดีและลง ความเห็นว่าถูกต้องแน่นอนแล้ว จารึกลงแผ่นศิลาประดับไว้ตามอาคาร และสิ่งก่อสร้างภายในพระอาราม เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ระเบียงคด และศาลารายต่างๆ เพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่ราษฎรที่ใฝ่รู้สนใจในตำ รา วิชาการเหล่านี้ จะได้ศึกษาค้นคว้าเล่าเรียนได้กว้างขวางยิ่งขึ้น นับเป็น พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่มีพระราชดำ ริให้วัดพระเชตุพนเป็นแหล่ง เรียนรู้ของมหาชนทุกชนชั้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีคำ กล่าวว่า วัดพระเชตุพน คือ มหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย

  โดยเหตุที่จารึกวัดโพธิ์เป็นหลักฐานการบันทึกที่รวบรวมองค์ความรู้ ของสรรพวิทยาการต่างๆ ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี อักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เวชศาสตร์ และสุภาษิต ในการนี้ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ซึ่งมี ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นประธานกรรมการ ได้พิจารณาถึงคุณค่าและความสำ คัญของจารึกวัดโพธิ์ดังกล่าว จึงมีมติ เสนอจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก ระดับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งคณะกรรมการของยูเนสโกแห่งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกว่าด้วยแผนงานความทรงจำ แห่งโลก (UNESCO Memory of the World Committee for the Asia Pacific Regional - MOWCAP) ประกาศขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย

  ต่อมาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ได้พิจารณาว่า สมควรเสนอจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก ระดับนานาชาติ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำ แผนการอนุรักษ์ และเผยแพร่จารึกวัดโพธิ์ เพื่อดำ เนินการสำ รวจจัดทำ ทะเบียนจารึก วัดโพธิ์ ตลอดจนจัดทำแผนอนุรักษ์และเผยแพร่เพิ่มเติมด้วย และจากการ ประชุมของคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผนงานความ ทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ ๑๐ (The Tenth Meeting of the International Advisory Committee for the Memory of the World Programme of UNESCO) ได้ประกาศรับรองให้จารึกวัดโพธิ์ ขึ้นทะเบียน เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ระดับนานาชาติ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร เหตุที่จารึกวัดโพธิ์ ซึ่งเป็น มรดกภูมิปัญญาไทยได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก เพราะมีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกสาร โดยเป็นการรวบรวมหลักฐาน ลายลักษณ์อักษรที่มีคุณค่าต่อมนุษยชาติ คงความเป็นเอกและมีความ โดดเด่นทั้งในด้านเวลา เนื้อหาสาระ สถานที่ บุคคล ฯลฯ อีกทั้งยังมีความ หายาก ความสมบูรณ์ และเป็นของแท้ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งล้วนเป็นภูมิปัญญา ของบรรพบุรุษไทยที่ได้สร้างสรรค์สรรพวิทยาความรู้ต่างๆ ไว้ เพื่อเป็น มรดกความทรงจำ อันลํ้าค่าให้แก่ลูกหลานและแผ่นดินสืบมาตราบจน ถึงทุกวันนี้ จารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลกของไทยเพียง รายการเดียวที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลกทั้งสองระดับ นับเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งแผ่นดิน

  อนึ่ง จารึกวัดโพธิ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก จำ นวน ๑,๔๔๐ รายการ ส่วนใหญ่เป็นจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ส่วนอักษรขอม ภาษาบาลี และภาษาไทยมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คณะ ทำ งานสำ รวจและจัดทำ ทะเบียนจารึกวัดโพธิ์ ได้จำ แนกเป็น ๖ หมวด ดังนี้

    ๑. หมวดพระพุทธศาสนา จำ นวน ๓๑๐ แผ่น มี ๑๒ เรื่อง ได้แก่ เรื่องมหาวงษ์ พระสาวกเอตทัคคะ พระสาวิกาเอตทัคคะ อุบาสกเอตทัคคะ อุบาสิกาเอตทัคคะ พาหิรนิทาน ทศชาติชาดก เวสสันดรชาดก อรรถกถา ชาดก ญาณ ๑๐ นิรยกถา และเปรตกถา

    ๒. หมวดเวชศาสตร์ จำ นวน ๖๐๘ แผ่น มี ๙ เรื่อง ได้แก่ ตำ รายา แผนเส้น แผนฝี แผนปลิง แม่ซื้อ ลำ บองราหู โองการปัดพิษแสลง อาธิไท้โพธิบาท และโคลงภาพฤๅษีดัดตน

    ๓. หมวดวรรณคดี และสุภาษิต จำ นวน ๓๔๑ แผ่น มี ๑๑ เรื่อง ได้แก่ โคลงกลบท โคลงภาพจำ หลักเรื่องรามเกียรติ์ โคลงโลกนิติ เพลงยาว กลบท ตำ ราฉันท์มาตราพฤติ ตำ ราฉันท์วรรณพฤติ ฉันท์พาลีสอนน้อง ฉันท์กฤษณาสอนน้อง ฉันท์อัษฎาพานร สุภาษิตพระร่วง และนิทาน ๑๒ เหลี่ยม

    ๔. หมวดทำ เนียบ จำ นวน ๑๒๔ แผ่น มี ๓ เรื่อง ได้แก่ ทำ เนียบ หัวเมืองและผู้ครองเมือง ทำ เนียบสมณศักดิ์ และโคลงภาพคนต่างภาษา

    ๕. หมวดประวัติ จำ นวน ๒๑ แผ่น มี ๒ เรื่อง ได้แก่ ประวัติการ บูรณปฏิสังขรณ์แต่ละอาคาร และจารึกชื่อเฉพาะต่างๆ ได้แก่ วิหารทิศ พระมหาเจดีย์ฯ และสถูป

    ๖. หมวดประเพณี จำ นวน ๓๖ แผ่น มี ๑ เรื่อง ได้แก่ ริ้วกระบวน แห่พระกฐินทางสถลมารค

   กระบวนการสำ รวจและจัดทำ ทะเบียนจารึกวัดโพธิ์ครั้งนี้ ยังพบว่า มีต้นฉบับหนังสือสมุดไทยที่ร่างเตรียมไว้เพื่อที่จะจารึกลงบนแผ่นศิลา แต่ยังไม่ได้จารึกให้ปรากฏเป็นหลักฐาน เช่น เรื่อง สำ เนาจาฤกแผ่นศิลา ว่าด้วยการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน สำ เนาพระราชดำ ริห์ว่าด้วยการ ทรงสร้างพระพุทธไสยาศนวัดพระเชตุพน และพระราชกฤษฎีการาชา นุสาสน์ วัดพระเชตุพน เป็นต้น

 กล่าวได้ว่าท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง วัดโพธิ์ ได้มีพัฒนาการอยู่คู่สังคมไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน เป็นที่รู้จักกัน ในฐานะ วัดกษัตริย์สร้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทรงคุณค่าทั้งทางโลก และทางธรรม ดังปรากฏจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเผยแพร่แก่สาธารณชน นับแต่อดีตตราบจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ นอกจากพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลที่ทรงอุปถัมภ์ในกิจการต่างๆ ของพระอาราม แล้ว ปวงชนชาวไทยยังมีจิตศรัทธาในการบริจาคทรัพย์เพื่อร่วมทำ นุบำ รุง วัดโพธิ์ ให้ยืนยงเป็นวัดคู่พระนครสืบไป ยังผลให้วัดโพธิ์ ไม่โรยร้างรุ่งเรือง ดังเมืองสวรรค์ และจะอยู่ในความทรงจำของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สืบไป


"ยอมรับคุกกี้" เพื่อให้เว็บไซต์นำเสนอประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับคุณ

เว็บไซต์วัดโพธิ์ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทุกท่าน ( Personal information ) ที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซด์วัดโพธิ์ อ่านเพิ่มเติม