ศาลารายล้อมลานวัดทั้งข้างใน (รอบพระอุโบสถ) และข้างนอก (แต่กำแพงสกัดออกไป) ของเดิมไม่มีเฉลียง ก่อล้อมเป็นช่อมงกุฎ (ช่องที่ทำเป็นเขาจำลอง) รื้อก่อใหม่ในรัชกาลที่ ๓ ต่อเฉลียงออกไปรอบตัว ลดพื้นเป็นสองชั้นแต่ สามด้าน (คือด้านหน้าและด้านหลังสกัดออกทั้งสองด้าน)
ศาลารายคู่หน้าพระมหาเจดีย์ ศาลาคู่นี้อยู่ระหว่างพระมหาเจดีย์กับพระอุโบสถ ศาลารายหลังเหนือ (ศาลาหมอนวด) จารึกตำรานวดแผนโบราณ มีจิตรกรรมลายเส้นบอกตำแหน่งนวด จารึกอยู่ที่คอสองเฉลียงลด มีจำนวน ๓๒ แผ่น ด้านหลังจารึกสุภาษิตพระร่วง (ปฐมสุภาษิตของไทย) กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ และภาพเขียนกระบวนแห่กฐินพยุหยาตราสถลมารค (แห่พระกฐินบก)
ศาลารายรอบวัดมีทั้งหมด ๑๖ หลัง คอสองเฉลียงและคอสองในพระประธาน มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องนิบาตรชาดก (พระเจ้าห้าร้อยห้าสิบชาติ) เขียนศาลาละ ๓๖ เรื่อง ศาลาทศชาติอยู่ด้านทิศใต้ของศาลาการเปรียญในศาลารายแต่ละหลัง นอกจากมีจิตรกรรมแล้ว ก็ยังมีภาพฉลักไม้ในวรรณคดีพระอภัยมณี และชีวิตพื้นบ้านทั่วไป ส่วนฤๅษีดัดตนนั้นจารึกอยู่ในช่องกุฎของศาลาและยังคงมีให้เห็นในปัจจุบันนี้