HOME / Article / พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


37604 VIEW | 31 มี.ค. 63
วัดพระเชตุพน


พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจใน

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว




พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรม ราชจักรีวงศ์ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กับเจ้าจอมมารดา เรียม ซึ่งต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย เสด็จพระบรมราชสมภพในรัชกาลที่ ๑ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ คํ่า ปีมะแมนพศก จ.ศ. ๑๑๔๙ ตรงกับวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ต่อมาเมื่อพระชนมพรรษาครบกำ หนดโสกันต์ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช โปรดให้มี พิธีโสกันต์เป็นการพิเศษ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหา ราชวัง และในเวลาต่อมาโปรดให้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นเสด็จไปประทับจำ พรรษาอยู่ ณ วัดราชสิทธาราม ธนบุรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรม ชนกนาถ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นทรงกรม เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ครั้น พ.ศ. ๒๓๕๖ โปรดให้ ทรงกำ กับราชการต่างพระเนตรพระกรรณในกรมท่า และกรมพระคลัง มหาสมบัติ ครั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวัง บวรสถานมงคลเสด็จสวรรคตแล้ว โปรดให้ทรงบังคับการสิทธิ์ขาดใน กรมพระตำรวจ ทำ หน้าที่ว่าความฎีกาต่างๆ เป็นลำดับมา ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงรอบรู้ในราชการแผ่นดินหลายด้าน จนเป็น ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระบรมชนกนาถมาตลอดรัชกาล ถึง พ.ศ. ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จ พระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคต แต่มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด บรรดา พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเสนาบดีทั้งปวง ได้ประชุมปรึกษาและ พร้อมกันอัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรส พระองค์ใหญ่ ซึ่งทรงพระสติปัญญาเฉลียวฉลาดและรอบรู้ในกิจการ บ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง เสด็จเสวยราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์เป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ นับแต่วันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ ขณะนั้นมีพระชนมพรรษา ๓๗ พรรษา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำ เพ็ญ พระราชกรณียกิจนานัปการ อันเป็นคุณประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์ และชาติบ้านเมืองเป็นอเนกอนันต์ ด้านการจัดระเบียบบริหารการปกครองนั้น ยังคงยึดตามแบบอย่าง ครั้งรัชกาลที่ ๑ ที่สำ คัญในรัชกาลนี้ ไทยต้องเผชิญกับการคุกคามของ จักรวรรดินิยมตะวันตก เป็นผลให้ต้องมีการเจรจาทำ สนธิสัญญาทาง การค้ากับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. ๒๓๖๙ และ พ.ศ. ๒๓๗๕ ตามลำดับ ด้านเศรษฐกิจการค้านั้น ถือได้ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถในการพาณิชย์มานับแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ด้วยทรงเชี่ยวชาญในด้านการค้ากับต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง ดังปรากฏ หลักฐานว่า ใน พ.ศ. ๒๓๖๔ ไทยมีเรือติดต่อค้าขายกับจีนถึง ๘๒ ลำ และกับชาติอื่นๆ อีก ๕๐ ลำ นอกเหนือจากจะทรงจัดการค้าสำ เภาหลวง ไปค้าขายกับนานาประเทศแล้ว ยังทรงค้าสำ เภาเป็นการส่วนพระองค์ด้วย โดยเฉพาะกับจีน เป็นผลให้พระองค์มีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็น จำ นวนมากก่อนที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชทรัพย์ดังกล่าวนี้บรรจุไว้ในถุงสีแดง จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก “เงินถุงแดง” เก็บรักษาไว้ใน พระคลังข้างที่ ครั้นถึงรัชสมัยของพระองค์ สภาพเศรษฐกิจเริ่มมั่นคงขึ้น โดยโปรด ให้แก้ไขวิธีการเก็บผลประโยชน์แผ่นดินบางประการ และตั้งภาษีขึ้นใหม่ ๓๘ อย่าง รวมทั้งทรงจัดตั้งระบบเจ้าภาษีนายอากร เพื่อให้มีการประมูล ผูกขาดการเก็บภาษีอากร ส่งผลให้ราชการมีรายได้แผ่นดินอยู่มาก เมื่อสิ้นรัชกาล มีเงินในพระคลังเหลือจับจ่ายในราชการแผ่นดิน จำ นวน ๔๐,๐๐๐ ชั่ง (๓,๒๐๐,๐๐๐ บาท) ซึ่งพระองค์มีพระราชดำ รัส ขอไว้ จำ นวน ๑๐,๐๐๐ ชั่ง (๘๐๐,๐๐๐ บาท) เพื่อสร้างพระอารามที่ค้าง ไว้ให้แล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือนั้น ถวายพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ตามแต่ จะทรงใช้สอย ด้านศาสนา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น เอกอัครศาสนูปถัมภกตามพระราชประเพณี มีพระราชศรัทธาใน พระบวรพุทธศาสนา ทรงบำ เพ็ญพระราชกุศลอยู่เป็นนิจ โปรดให้สมณทูต ออกไปเจริญสัมพันธไมตรีทางศาสนากับประเทศลังกา ทรงโปรดปราน การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดราชโอรสาราม วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม เป็นต้น จึงมีคำกล่าว กันว่า ผู้ใดเอาใจใส่ทำ นุบำ รุงในพระศาสนาและสร้างพระอาราม ก็ทรง โปรดยิ่งนัก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้นคํ่า ๑ ปีกุนตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ พระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา มีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม ๕๑ พระองค์ และมีสายราชสกุลที่สืบเนื่องมา รวม ๑๓ มหาสาขา ได้แก่ ศิริวงศ์ โกเมน คเนจร งอนรถ ลดาวัลย์ ชุมสาย ปิยากร อุไรพงศ์ อรณพ ลำยอง สุบรรณ สิงหรา และชมพูนุท
ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกพระนามพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว รวม ๓ แบบ คือ “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” และ “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหาราชเจ้าผู้มีพระทัย ตั้งมั่นในการบำ เพ็ญพระราชกิจ” และทุกวันที่ ๓๑ มีนาคม ซึ่งเป็น วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กำ หนดให้เป็น “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหา เจษฎาราชเจ้า” ซึ่งจะมีรัฐพิธีถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประจำ ทุกปี ณ ลานพลับพลา มหาเจษฎาบดินทร์ ถนนราชดำ เนินกลาง เชิงสะพานผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


"ยอมรับคุกกี้" เพื่อให้เว็บไซต์นำเสนอประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับคุณ

เว็บไซต์วัดโพธิ์ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทุกท่าน ( Personal information ) ที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซด์วัดโพธิ์ อ่านเพิ่มเติม