HOME / CurrentAbbot

现任住持


ประวัติ
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)

สถานะเดิม
ชื่อ ประสิทธิ์ นามสกุล สุทธิพันธุ์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นปสฤทธ์) เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ปีฉลู ที่บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ ขุนก่อเอ้อุกฤษ (ผา สุทธิพันธุ์) มารดาชื่อ นางก่อเอ้อุกฤษ (ตา สุทธิพันธุ์)

บรรพชา อุปสมบท
วันที่ 3 เมษายน 2491 บรรพชา ที่ วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พระครูพินิฐศีลคุณ เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่าง บ้านโนนใหญ่ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์

วันที่ 20 กรกฎาคม 2501 อุปสมบท ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พระธรรมธีรราชมหามุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส (ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นที่สมเด็จพระธีรญาณมุนี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยกิจโกศล (อิน ติสฺสสโร ป.ธ.๖) (ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชปัญญามุนี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระมหาบุญมา ทีปธมฺโม ป.ธ.6 (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระพุทธิวงศมุนี) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เขมงฺกโร

การศึกษา/วิทยาฐานะ
พ.ศ. 24?? สอบนักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 24?? สอบนักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2497 สอบนักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดมณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2501 สอบประโยค ป.ธ.3 สำนักเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2503 จบชั้นบาลีอบรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร วิทยฐานะพระปริยัติธรรมในพระพุทธศาสนา
แผนกสามัญศึกษา
พ.ศ. 2491 จบชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนประชาบาล (พรหมพิทยา) บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

เกียรติคุณที่ได้รับในประเทศ
พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรและเกียรติบัตร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่าง ประเทศ ในวันวิสาขบูชา 2535
พ.ศ. 2538 ได้รับ ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์ (พธ.ด.) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ 7 พฤษภาคม
พ.ศ. 2543 ได้รับ ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัญฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษาศาสตร์ (ค.ด.) โดยสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี(อนุมัติปริญญาประจำปีการศึกษา 2542) (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระราชานุเคราะห์ การจัดพิธีถวายปริญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อ 19 มิถุนายน 2543)
พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษาศาสตร์ (ปร.ด.) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 22ธันวาคม 2543
พ.ศ. 2550 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา (ศศ.ด.) จากมหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร

เกียรติคุณที่ได้รับในต่างประเทศ
พ.ศ. 2529 ได้รับโล่ห์เกียรติคุณDistinguished Award สังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย จาก The Board Of Directors Of Asian Human Service Of Chicago
พ.ศ. 2533 ได้รับเกียรติบัตรยกย่องให้ เป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์แห่งมหานครชิคาโก มีศักดิ์และสิทธิในด้านการเผยแผ่ศาสนาประเพณี และวัฒนธรรมไทยอันดีงาม ในมหานครชิคาโกและมลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา จากมหานครชิคาโก (City Of Chicago) เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม
พ.ศ. 2533 ได้รับเกียรติบัตรแสดงความขอบคุณจาก Richard M. Daleyนายก เทศมนตรีมหานครชิคาโก ที่ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ ต่อชุมชนชาวเอเชีย และชาวอเมริกันในมหานครชิคาโก พร้อมกับได้ให้เกียรตินำเกียรติบัตรดังกล่าวมามอบ ที่วัดธัมมาราม อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม
พ.ศ. 2534 ได้รับเกียรติบัตรแสดงความยกย่องเชิดชูจาก Mr.Paul Simon วุฒิสมาชิกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะ “ผู้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย ในสหรัฐอเมริกา ด้วยความวิริยะอย่างยิ่ง” เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2540 ได้รับเกียรติบัตรจาก Richard M. Daley นายกเทศมนตรีมหานครชิคาโก ลงวันที่ 24 พฤษภาคม * 2540 ประกาศยกย่องให้ วันที่ 24พฤษภาคมทุกปี (ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระพรหมวชิรญาณ) เป็น “วันเผยแผ่พระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีไทย ในมหานครชิคาโก สหรัฐอเมริกา”
พ.ศ. 2542 ได้รับเกียรติบัตรแสดงความยกย่องชมเชยจาก George H.Ryan ผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ในฐานะ “ผู้ทำการเผยแผ่ศาสนาและสงเคราะห์ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกา ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง” เมื่อวันที่ 13 กันยายนซึ่งเกียรติคุณตามความในข้อ 10.2 ที่ พระพรหมวชิรญาณ ได้รับ ตั้งแต่ปี 2529เป็นต้นมานั้นเป็นเกียรติคุณที่พระสงฆ์ไทยและคนไทยคนแรกได้รับจากสถาบันและบุคคลสำคัญดังกล่าว
พ.ศ. 2549 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Doctor of Philosophy in Social Science, New Port University U.S.A.,

สมณศักดิ์
5 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งจากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ธีร์ ปุณณโก) ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ
5 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์
5 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระสุธีรัตนาภรณ์
5 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชรัตนาภรณ์ บวรธรรมานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพประสิทธิมนต์ วิเทศธรรมโกศล ญาณโสภณวิจิตร ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมวชิรญาณ ปฏิภาณธรรมวาที ศรีวิเทศธรรมโกศล วิมลสาธุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
5 ธันวาคม พ.ศ. 2544 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรญาณ ไพศาลศาสนกิจสิทธิปริณายก ธรรมวิเทศดิลกสุทธิกวีปาพจนโสภณ วิมลสีลาจารวินิฐ ราชวิสิฐวชิราลงกรณ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนสมศักดิ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ดิลกธรรมวิเทศโกศล วิมลปาพจนกวีวราลังการ ไพศาลอรรถธรรมานุสิฐ พิพิธกิจจานุกิจสาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

"ยอมรับคุกกี้" เพื่อให้เว็บไซต์นำเสนอประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับคุณ

เว็บไซต์วัดโพธิ์ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทุกท่าน ( Personal information ) ที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซด์วัดโพธิ์ อ่านเพิ่มเติม