HOME / Article / ตำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์

ตำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์


38420 VIEW | 7 ธ.ค. 61
วัดพระเชตุพน


ตำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ
โดย.. ก่องแก้ว วีระประจักษ
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ข้าราชการบำ นาญ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


   ตำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์ เป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็น ความรู้สืบทอดมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่ บ้านเมืองมีศึกสงคราม ตำราการแพทย์แผนไทยคงจะสูญหายกระจัดกระจาย ไปไม่น้อย ต่อมาเมื่อถึงสมัยธนบุรี ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช (พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕) ทรงกอบกู้เอกราชแล้ว ได้ทรงฟื้นฟู บ้านเมืองในทุกด้าน ในส่วนที่เกี่ยวกับตำ ราการแพทย์แผนไทยก็ทรง สนพระทัยโปรดให้ค้นคว้า รวบรวม และฟื้นฟูบูรณาการขึ้นเช่นเดียวกัน การรวบรวมวิชาการแพทย์แผนไทยจึงได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรง ตระหนักถึงคุณค่าและความสำ คัญของวิชาการแพทย์แผนไทยดังกล่าว จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมตำ รายาจารึกลงบนแผ่นศิลา และปั้นรูปฤๅษี ดัดตนประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๑

ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) โปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตในวิชาการสาขา ต่างๆ ค้นคว้า รวบรวม ตรวจสอบและคัดสรรตำ ราวิชาการต่างๆ ให้ ถูกต้อง แล้วให้จารึกลงบนแผ่นศิลาประดิษฐานไว้ตามเสนาสนะภายในวัดโพธิ์ เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ได้ศึกษาเรียนรู้อย่างทั่วถึง เฉพาะเรื่อง ที่เกี่ยวกับตำ ราการแพทย์แผนไทยนั้น เป็นตำ ราที่จารึกไว้อย่างมีระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง ตำ รายา และตำ รานวด

ตำรายา เป็นตำ รายาที่ว่าด้วยการบำ บัดรักษาโรคต่างๆ ซึ่งหมอยา หรือผู้มีความรู้ในตำ รายาเหล่านั้นต้องสาบานตัวว่ายาขนานนั้นๆ ตนเคยใช้ รักษาโรคมาแล้ว และได้ผลดีจริง ต่อจากนั้นพระยาบำ เรอราชแพทย์ ซึ่ง เป็นแพทย์หลวงประจำ ราชสำ นักในขณะนั้น จะตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งก่อน ที่จะนำ มาจารึก จะเห็นได้ว่า วิชาแพทย์แผนไทยเป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาต้องมี ความละเอียดถี่ถ้วน มีความรู้จริง เพื่อให้การบำ บัดรักษาบังเกิดผลให้ คนไข้หายจากอาการของโรค เนื้อหาของเรื่องที่จารึก จึงครอบคลุมทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับการรักษาโรค คือ

๑. ตำราที่ว่าด้วยสมุฏฐานของโรค หมายถึง ที่ตั้ง หรือที่แรกเกิด ของโรค ซึ่งแพทย์ต้องรู้ว่าโรคเกิดจากสมุฏฐานต่างๆ ๕ สมุฏฐาน คือ
ธาตุสมุฏฐาน หมายถึง ที่เกิดแห่งโรคตามอาการของธาตุทั้งสี่ อันมีอยู่ในร่างกาย ได้แก่ ปถวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) วาโยธาตุ (ธาตุลม) และเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) หากธาตุทั้งสี่พิการ หรือผันแปรผิดปกติ ก็จะเป็นสมุฏฐานของโรคต่างๆ ตามกองธาตุเหล่านั้น
อุตุสมุฏฐาน หมายถึง ฤดูกาลที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เมื่อฤดูกาล เปลี่ยนแปลงไป อากาศสัมผัสกับร่างกาย เป็นผลให้ธาตุในร่างกาย แปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาลนั้น หากธาตุในร่างกายปรับไม่ทันกับอากาศ ที่มากระทบภายนอก ก็เป็นสมุฏฐานให้มีอาการเจ็บไข้ได้
อายุสมุฏฐาน หมายถึง การกำ หนดอายุเป็น ๓ ช่วงวัย คือ ปฐมวัย (นับตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ ๑๖ ปี) มัชฌิมวัย (นับตั้งแต่อายุพ้น ๑๖ ปีขึ้นไปจนถึง ๓๒ ปี) ปัจฉิมวัย (นับตั้งแต่อายุพ้น ๓๒ ปีเป็นต้นไป) แต่ละวัยจะมีสมุฏฐานจากธาตุต่างๆ ในร่างกายแตกต่างกัน
กาลสมุฏฐาน หมายถึง เวลาในแต่ละวันทำ ให้เกิดโรคขึ้น เพราะธาตุในร่างกายไม่เป็นไปตามกาลเวลาปกตินั้น

  ประเทศสมุฏฐาน หมายถึง สถานที่ หรือภูมิประเทศในแต่ละ ภูมิภาคของโลก ย่อมมีสภาวะอากาศตามธรรมชาติที่แตกต่างกัน บุคคล เคยอยู่ในประเทศที่มีอากาศร้อนก็ดี หนาวก็ดี หรือในพื้นที่มีฝนตกตลอดปี ก็ดี ธาตุสมุฏฐานอันมีอยู่ในร่างกายก็คุ้นเคยกับสภาพภูมิอากาศของประเทศ นั้นๆ เป็นปกติ หากเปลี่ยนมาอยู่ในประเทศที่มีอากาศแตกต่างออกไป เมื่อยังไม่คุ้นเคยก็ย่อมจะเจ็บไข้เกิดโรคขึ้นได้
๒. ตำราที่ว่าด้วยโรคต่างๆ และยารักษาโรคที่เกี่ยวกับแม่และ เด็ก เริ่มตั้งแต่หญิงแรกมีครรภ์จนถึงคลอดทารกแล้ว และโรคของเด็ก ตั้งแต่แรกคลอดจากครรภ์มารดาจนถึงอายุ ๑ ขวบ มีโรคแม่ซื้อประจำวันเกิด ของเด็ก โรคซาง ลำ บองราหู เป็นต้น
๓. ตำราที่ว่าด้วยชื่อยา ชื่อโรค อันเกิดจากสมุฏฐานทั้งห้า เช่น โรคไข้ชนิดต่างๆ โรคเลือด โรคลม โรคฝีประเภทต่างๆ โรคภายในร่างกาย และผิวกาย เป็นต้น
๔. ตำราที่ว่าด้วยสรรพคุณยา มีเนื้อหาระบุถึงคุณสมบัติของ สมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องยาสำ หรับปรุงเป็นยารักษาอาการโรค ซึ่งแต่ละอย่าง มีคุณสมบัติ และสรรพคุณทางยาแตกต่างกัน สมุนไพรที่เป็นเภสัชวัตถุ มี ๓ จำ พวก ได้แก่ พืชสมุนไพร สัตว์สมุนไพร และแร่ธาตุสมุนไพร

พืชสมุนไพร แพทย์ต้องรู้จักส่วนต่างๆ ของพืชว่า เป็นพืชชนิดใด มีรส สี กลิ่น รูปอย่างใด เช่น ราก เปลือก ใบ ดอก เกสร ผล แก่น ยาง เมล็ด กระพี้ เง้า กาฝาก เป็นต้น
สัตว์สมุนไพร แพทย์ต้องรู้จักอวัยวะต่างๆ ของสัตว์ เช่น เขา กระดูก กราม หรือฟัน มูล เนื้อ หนัง สมอง ดี เลือด เปลือก เป็นต้น
แร่ธาตุสมุนไพร แพทย์ต้องรู้จักลักษณะรูป สี กลิ่น รส ชื่อ และรู้วิธี ทำ ให้ฤทธิ์อ่อนลง เช่น การสะตุสนิมเหล็กเพื่อให้พิษลดลง หรือหมดไป เพื่อใช้ เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา เป็นต้น

ตำรายาแต่ละขนานจะมีวิธีการปรุง และการนำ ไปใช้หลายวิธี ดังนี้
๑. ยาที่ปรุงแล้วตำ รวมกันให้ละเอียดเป็นผงละลายกับนํ้า หรือ นํ้ากระสายดื่มกิน ประสมกับนํ้า หรือนํ้าผึ้ง หรือนํ้ากระสายอื่นแล้วปั้นเป็น ลูกกลอน หรือเป็นเม็ดกลืนกิน ใส่กล้องเป่าทางจมูก หรือในลำคอ เป็นต้น
๒. ยาที่ปรุงแล้วสับเป็นท่อน เป็นชิ้น บรรจุลงในหม้อเติมนํ้า ต้มเคี่ยว รินแต่นํ้ากินเป็นยาต้ม ถ้าจะใช้เป็นยาดองก็นำ เครื่องยาที่ปรุงแล้วแช่ด้วย สุรา นํ้า หรือนํ้าผึ้ง แล้วรินแต่นํ้ากิน
๓. ยาที่ปรุงแล้วนำ ไปเผา หรือคั่วให้ไหม้ แล้วแช่นํ้ารินแต่นํ้ากิน หรือบดให้ละเอียดเป็นผงละลายนํ้ากระสายต่างๆ กิน
๔. ยากัดด้วยเหล้า หรือแอลกอฮอล์ แล้วหยดลงในนํ้า หรือเติมนํ้ากิน
๕. ยาที่ปรุงแล้วนำ ไปกลั่นเอาแต่ไอนํ้ายา แล้วกินนํ้ายาที่กลั่นได้
๖. ยาที่ปรุงแล้วห่อผ้าบางๆ บรรจุลงในกลัก แล้วใช้ดม หรือสูด เอาแต่กลิ่น
๗. ยาที่ปรุงแล้วหุงด้วยนํ้ามัน ใช้นํ้ามันที่หุงได้ใส่กล้องเป่าบาดแผล เป็นต้น
๘. ยาที่ปรุงแล้วทำ เป็นยาทา ยาเหน็บ ยาพอก ยาปิดตามผิวกาย ใส่ผ้าห่อทำ เป็นลูกประคบ ใส่มวนเป็นบุหรี่สูบเอาควัน นำ ไปติดไฟให้เกิด ควัน แล้วใช้ควันใส่กล้องเป่าบาดแผลและฐานฝี นำ ไปต้มเอานํ้าใช้อม หรือบ้วนปาก อาบ แช่ ชะล้าง หรือต้มใช้ไอรม หรือ อบ หรือใช้เป็นยาสูบ ยาสวน เป็นต้น

  ตำรานวด เป็นตำ ราแบบแผนวิธีรักษาโรคด้วยการใช้มือ หรือนิ้วมือ กดไปตามเส้นเอ็นต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้คลายจากอาการโรค ในแผ่น จารึกจะมีภาพรูปร่างคน ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง พร้อมทั้งมีเส้นโยง บอกจุดตำแหน่งของเส้นเอ็นในร่างกายที่กำ หนดเรียกว่า แผน ถ้าเป็นภาพ ด้านหน้าเรียกว่า แผนหงาย ภาพด้านหลังเรียกว่า แผนควํ่า แผนเส้น เหล่านี้ระบุตำ แหน่งจุดต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน ตลอดจนระบุชื่อเส้น และจุดที่จะแก้ไขให้บรรเทาอาการโรคต่างๆ ด้วย
  แผนเส้นดังกล่าวข้างต้น เป็นแบบแผนการรักษาที่หมอนวดนำ มา ใช้เป็นหลัก ในการนวดเพื่อบำ บัดรักษาอาการโรคต่างๆ เช่น นวดให้ เลือดลมในร่างกายไหลเวียน หรือบรรเทาอาการปวดเฉพาะที่ เช่น ไหล่ติด เข่าขัด หรือนวดเพื่อให้หายปวดเมื่อยแขน ขา คลายความเจ็บปวด คลายความเครียด เป็นต้น
  จารึกตำ รานวดที่วัดโพธิ์ เป็นตำ ราที่หมอนวดผู้ศึกษาเล่าเรียน นำ มาใช้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ รักษาให้หายจากอาการโรคได้จริง จึงได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวาง เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายรู้จักกันดีทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ
  ต่อมาวัดโพธิ์ได้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้น ใน พ.ศ. ๒๕๐๔ การศึกษาวิชาการแพทย์แผนไทยจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีผู้ ศึกษาเล่าเรียนสำ เร็จเป็นหมอยา หมอนวด โดยมีประกาศนียบัตรประกอบ โรคศิลป์ให้ด้วย วิชาการแพทย์แผนไทยจึงเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ปีต่อมา วัดโพธิ์ ก็ได้ขยายการเรียนการสอนโดยมอบให้โรงเรียนนวดแผนโบราณ วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) สอนวิชานวด และรับนวดให้แก่ผู้ป่วยทั่วไป โดยเหตุนี้วิชานวดวัดโพธิ์ หรือหมอนวดวัดโพธิ์ จึงเป็นที่รู้จักและได้รับ ความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน


๏ ผนังใหญ่หลังใต้กอป    การรจิต รูปเฮย
แผนภาพสกนธ์กายกุมาร   แม่ซื้อ
คอสองแหล่งเฉลียงลิขิต   คนแปลก เพศพ่อ
ลบองบอกออกชื่ออื้อ      เอิกอ้างราหูฯ
๏ โอสถจานแจกสร้าง     เศลา ลายแฮ
ตราติดทั่วสถานดู          ดื่นด้าว
เลบงโคลงฉลักเลขา       ขานบอก ความเอย
เล็งแผนผาอคร้าวล้วน     เล่ห์กัน ฯ

โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน
พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
  



"ยอมรับคุกกี้" เพื่อให้เว็บไซต์นำเสนอประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับคุณ

เว็บไซต์วัดโพธิ์ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทุกท่าน ( Personal information ) ที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซด์วัดโพธิ์ อ่านเพิ่มเติม