อธิบายเรื่องเพลงยาวเจ้าพระ
เพลงยาวชุดนี้มิใช่เพลงยาวสังวาศ ปรากฏในท้องสำนวนว่า เป็นของเจ้านายที่ทรงผนวชทรงแต่ง ๓ พระองค์ เพราะฉะนั้นจึงสมมตเรียกว่า "เพลงยาวเจ้าพระ" ในเพลงยาวมีเนื้อความพอจะสันนิษฐานรู้เรื่องราวได้หลายอย่าง คือ
๑.ในเพลงยาวบทที่ ๑๔ อ้างถึงกรมหมื่นไกรสรวิชิต ข้อนี้รู้ได้ว่า เป็นเพลงยาวชุดนี้แต่งในรัชกาลที่ ๓ เพราะกรมหมื่นไกรสรวิชิตนั้น ทรงรับกรมในรัชกาลที่ ๓ แลสิ้นพระชนม์ก็ในรัชกาลที่ ๓
๒.ในเพลงยาวบทที่ ๑ บทที่ ๑๑ บทที่ ๑๓ บทที่ ๑๔ มีเนื้อความประกอบกันว่า ในปีที่แต่งเพลงยาวนี้มีเจ้านายทรงผนวชอยู่ในพระอารามเดียวกัน ๕ พระองค์ พระองค์ที่ ๑ นั้นเป็นอาจารย์ เจ้าพระอิก ๔ พระองค์เป็นเจ้านายพี่น้องทรงผนวชเฉพาะพรรษา เป็นศิษย์อยู่ในสำนักเจ้าพระพระองค์ที่ ๑
๓.เหตุที่จะแต่งเพลงยาวเหล่านี้นั้น ดูเหมือนในเวลานั้นเจ้าพระพระองค์ที่ ๓ กำลังทรงหัดแต่งกลอน ได้แต่งกลอนเพลงยาวถวายเจ้าพระพระองค์ที่ ๑บท ๑ แลแต่งประทานนายนากคน ๑ ซึ่งทำนองจะเป็นผู้มีคชื่องเสียงในการแต่งกลอนอีกบท ๑ เจ้าพระพระองค์ที่ ๑ จึงทรงแต่งเป็นกลอนเพลงยาวมีโคลงกระทู้อยู่ข้างท้ายประทานตอบ ทรงแนะนำกระบวรอักขระวิธีหนังสือไทย (คือเพลงยาวบทที่ ๑) สว่นนายนากนั้นก็แต่งเป็นกลอนเพลงยาวถวายตอบ เป็นเชิงรับจะแต่งเพลงยาวโต้ตอบซ้อมสำนวนกับเจ้าะพระพระองค์ที่ ๓ แต่นั้นเจ้าพระพระองค์ที่ ๓ ก็แต่งเพลงยาวโต้ตอบกับนายนากต่อมา (นับแต่บทที่ ๒ จนถึงบทที่ ๑)
ตัวอย่างเพลงยาวเจ้าพระ
บทที่ ๒ ของนายนาก ถวายเจ้าพระพระองค์ที่ ๓
" นอบนบเคารพบาทพระจอมเศียร ซึ่งผนวชในพรหมพรตกำหนดเพียรจะทรงเรียนทางปราชญ์ชาติกระวี กระหม่อมเหล่าเผ่าพงษหินชาติ จะหมายมาดคู่พรหมไม่สมศรี ด้วยเป็นไพร่จะให้ตอบพระวาที บาระมีเป็นที่ยิ่งยังกริ่งครัน แม้นพระไทยจะใคร่ทรงดำรงเรื่อง ที่ข้อเคืองโปรดให้อไภยฉัน ด้วยกลอนตอบชอบผิดต้องติดพัน ซึ่งโทษทัณฑ์อนุญาตให้คาดเอย "
เป็นต้น