พระมณฑป หรือ (หอไตรจตุรมุข) รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนา เป็นสถาปัตยกรรมจตุรมุขเครื่องยอดทรงมงกุฎ ประดับกระเบื้องเคลือบและถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในมีตู้เก็บพระไตรปิฎก มีศาลาทิศรอบพระมณฑป ผนังภายในศาลาทิศมีภาพจิตรกรรม กำเนิดรามเกียรติ์ ประเพณีรามัญกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น ผนังภายนอกมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิต เรียกว่า โคลงโลกนิติ ที่ซุ้มประตูทางเข้ามณฑปทั้งสองข้างมียักษ์วัดโพธิ์ ที่มีตำนานเล่าว่าไปรบกับยักษ์วัดแจ้งจนเป็นต้นกำเนิดท่าเตียน
กลอนตำนานท่าเตียนกับ
ยักษ์วัดโพธิ์อวดโตยืนจังก้า ขู่ตะคอกบอกว่าอย่าลวนราม ข้านั้นหรือคือมือเก่าเฝ้าวัดนี้ อันทรัพย์สินไม่เคยหายในเวลา เป็นเรื่องจริงใช้คุยคุ้ยเอาเรื่อง ยักษ์วัดแจ้งคอยระแวงแกล้งชิงชัง เราก็ชายชาติยักษ์รักถิ่นฐาน สงครามขั้นพันตูดูไม่เบา สู้กันได้หลายตั้งยังไม่แพ้ กระแสชลวนแหวกกระแทกกัน แสนสงสารชาวท่าหน้าตลาด บ้างบนบานศาลกล่าวเจ้าโลกา ครั้นเมื่อยักษ์เลิกรบสงบศึก จะยลหน้าไปมองแห่งหนใด ตั้งแต่นั้นจึงพากันขนาน ว่า “ท่าเตียน” เปลี่ยนให้ด้วยใจจง |
ทำยักท่านักเลงให้เกรงขาม ใครยุ่มย่ามเป็นไม่ไว้ชีวา มาหลายปีดีดักนานนักหนา พระท่านมาอยู่ด้วยช่วยระวัง เคยขุ่นเคืองมาก่อนกลับย้อนหลัง เหาะข้ามฝั่งมาราวีถึงที่เรา ใครรุกรานต้องขย้ำซ้ำให้เน่า พองต่อพองจ้องเข้าประหัตถ์กัน บ้านเรือนแพริ่มฝั่งพังสะบั้น ดังสะนั่นลั่นรัวทั่วพารา ต้องอนาถอกหักเพราะยักษา เชิญท่านมาอยู่ด้วยช่วยกันภัย ใจระทึกหม่นหมองนั่งร้องไห้ ดูไม่ได้มีแต่เหี้ยนเตียนราบลง นามเรียกขานกันใหม่ไม่ใหลหลง ชื่อยังคงมีอยู่มิรู้ลืม |