HOME / FormerAbbot

Former Abbot


SOMDET PHRA WANNARAT
(PHRA PONNARAT (KAEW)
H.R.H. PRINCE PARAMANUJITJINOROS’ TEACHER)
Born : Tuesday the ninth waxing day of the third lunar month,
in 1734
• In the Year of the tiger
• In the reign of King Boromakoth of the Ayutthaya Period
Died : 1813 at age 79
Abbot of Wat Phra Chetuphon : 1782 - 1813

H.R.H. KROM PHRA PARAMANUJITJINOROS
2HRHKROM PHR
(PRINCE VASUGRI)
BS
1790
Eqilt tDb
Ithyf thtig
Did Fidy thith
thyf th
Eqilt tDb91853 t g6

PHRA PHIMOLDHAMMA (YIM),
PALI SCHOLAR LEVEL 7
Born : unknown date
Died : September 14, 1869
• In the year of snake
Abbot of Wat Phra Chetuphon : 1857 - 1869

SOMDET PHRA WANNARAT (SOMBOON),
4
PALI SCHOLAR LEVEL 4
BM
1794
Ithigf Kig R
I1794thyf tig
Did Sdy th
thyf tht
Eqilt tNb181876 t g

PHRA PHIMOLDHAMMA (AUN),
PALI SCHOLAR LEVEL 8
Born : 1819 ; in the year of rabbit
• In the reign of King Rama I
Died : Tuesday the twelfth waning day of the seven lunar month
• In the year of the cow
• Equivalent to June 25, 1889, at age 70
Abbot of Wat Phra Chetuphon : 18

MOM CHAO PHRA SOMDET PHRA BUDDHA

 

พระอุบาฬีคุณูปมาจารย์ (ปาน ป.ธ. ๗)

ชาตะ ปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๑ 
มรณภาพ  ปีมะโรง ๑๕ มิถุนายน ๒๔๔๗
ปีที่ออกผนวช  ปีระกาพ.ศ. ๒๓๙๒

ประวัติโดยย่อ ผลงานที่โดดเด่น

เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๓ นามเดิมว่า ปาน เป็นชาวบ้านบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม เดิมบวชเป็นสามเณรที่วัดปรก แล้วเรียนอักขรสมันอยู่วัดบางแคใหญ่และวัดอัมพวันเจติยานาม จังหวัดสมุทรสงคราม จากนั้นจึงเข้ามาเรียนพระปริยัติธรรมในกรุงเทพฯ อยู่วัดบพิตรภิมุข แล้วมาอยู่วัดราชบุรณะ ทั้งยังได้เข้าเรียนในพระมหาปราสาทด้วย ครั้งยังเป็นสามเณรได้เปรียญ ๓ ประโยค

ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๘๘ เข้าแปลพระปริยัติครั้งแรก ที่วัดพระเชตุพนฯ และเข้าแปลพระปริยัติธรรมในรัชกาลที่ ๓ อีกครั้งที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แปลได้อีก ๒ ประโยค รวมเป็น ๕ ประโยค

ปีชวด พ.ศ. ๒๔๐๗ แปลพระปริยัติธรรมได้อีก ๒ ประโยค รวมเป็น ๗ ประโยค ต่อมาท่านขออนุญาตลาออกไปสอนพระปริยัติธรรม ณ หัวเมืองชายทะเลฝ่ายตะวันออก เมืองชลบุรีแล้วเลื่อนลงไปอยู่บางพระ เมืองระยอง เมืองจันทบุรี เมืองตราด ตามลำดับจากนั้นจึงกลับมาอยู่วัดราชบุรณะดังเดิม

ปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๑ สมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นพระราชาคณะที่พระพินิจฉัย โปรดให้อาราธนาไปครองวัดมหรรณพาราม

ปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐ ทรงเลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพมุนี 

ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมเจดีย์ และปี พ.ศ. ๒๔๔๓ โปรดให้อาราธนามาครองวัดพระเชตุพนแล้วเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระอุบาฬีคุณูปมาจารย์ ตำแหน่งเจ้าคณะอรัญวาสี ในปีเดียวกัน

นอกจากดำรงตำแหน่งอธิบดีสงฆ์แล้วนั้น พระอุบาฬีคุณูปมาจารย์ยังมีงานกวีนิพนธ์อีกหลายชิ้นด้วยกัน คือ

  • ลิลิตศิริสารชาดก แต่งขึ้นเมื่อครั้งยังเป็นพระมหาปาน พรรษา ๕ วัดราชบุรณะ 
  • ลิลิตมหาชาติ กัณฑ์นครกัณฑ์ แต่งขึ้นขณะที่มีสมณศักดิ์เป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕

พระธรรมเจดีย์ (แก้ว ป.ธ. ๔)

ชาตะ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๘๕ 
มรณภาพ  ปีวอก พ.ศ. ๒๔๕๑
ปีที่ออกผนวช  ไม่ปรากฎ

ประวัติโดยย่อ ผลงานที่โดดเด่น

พระธรรมเจดีย์เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นชาวเมืองจันทบุรี แรกชื่อว่า เก๊า แล้วมาเปลี่ยนเป็น แก้ว ครั้งเมื่อเข้าแปลพระปริยัติธรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๔ อุปสมบทที่วัดโบสถ์ เมืองจันทบุรี เมื่อบวชได้ ๔ พรรษาเข้ามาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดราชบุรณะ กรุงเทพฯ และได้เป็นพระสมุห์ถานานุกรมของพระศรีสมโพธิ (สิน)

สมัยรัชกาลที่ ๕ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ ได้ติดตามพระศรีสมโพธิ (สิน) ไปครองวัดพระยาทำ เข้าแปลพระปริยัติธรรมได้เปรียญ ๓ ประโยค

ปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระรัตนมุนี แล้วอาราธนาไปครองวัดไชยพฤกษมาลา 

ปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒ เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระราชกระวี 

ปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ โปรดฯให้อาราธนาไปครองวัดประยุรวงศาวาสแล้วทรงเลื่อเป็นพระเทพมุนี ครองวัดประยุรวาศาวาสได้ ๕ ปี

ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๔๘ โปรดฯให้อาราธนามาครองวัดพระเชตุพนฯแล้วเลื่อนเป็นพระธรรมเจดีย์ 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร ป.ธ. ๖)

ชาตะ ปีฉลู พ.ศ.๒๓๙๖ 
มรณภาพ  ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๘๔
ปีที่ออกผนวช  ปีกุน พ.ศ. ๒๔๑๘

ประวัติโดยย่อ ผลงานที่โดดเด่น

สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๔ เกิดที่บ้านโรงช้าง จังหวัดพิจิตร นามเดิมว่าเข้ม ได้เล่าเรียนอักขรสมัยและภาษามคธ จากสำนักพระอาจารย์พุ่ม วัดนครชุม จังหวัดพิจิตร ตั้งแต่อายุ ๑๒-๑๗ ปี  เมื่ออายุ ๑๘ ปี พระปริยัติธรรมธาดานำมาฝากไว้ในสำนักพระญาณสมโพธิ และบวชเป็นสามเณรเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักหลวงธรรมมาภิมณฑ์ (ปั้น) สำนักพระเมธาธิบดี (จั่น) สำนักพระปริยัติธรรมธาดา (ซัง)

ปีกุน พ.ศ. ๒๔๑๘ เมื่ออายุครบอุปสมบทได้อุปสมบทที่วัดรังสีสุทธาวาส 

ปีชวด พ.ศ. ๒๔๒๙ เข้าแปลพระปริยัติธรรมครั้งแรกได้เป็นเปรียญ ๔ ประโยคแล้วเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีก ๒ ครั้ง จนเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ รวมเป็น ๖ ประโยค

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่พระอมรเมธาจารย์ พ.ศ. ๒๔๓๑ เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒ เลื่อนให้เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระราชมุนี อีก ๒ ปีต่อมาจึงเลื่อนเป็นพระเทพเทพเมธี 

ปีวอก พ.ศ. ๒๔๕๑ ครั้งนั้นวัดพระเชตุพน ขาดพระราชาคณะผู้ใหญ่ปกครอง จึงโปรดให้อาราธนามาครองวัดพระเชตุพน ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๒ แล้วโปรดฯให้เลื่อนเป็นพระธรรมเจดีย์

ปีระกา พ.ศ. ๒๔๖๔ สมัยรัชกาลที่ ๖ เลื่อนให้เป็นพระอุบาฬีคุณูปมาจารย์ เจ้าคณะรองอรัญวาสี จากนั้นได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะมีราชทินนามว่า พระธรรมวโรดม เจ้าคณะรองคณะใต้

ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง มีนามตามจารึกว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ 

สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต ป.ธ. ๙)

ชาตะ ปีขาล พ.ศ.๒๔๑๙ 
มรณภาพ  ปีกุน พ.ศ. ๒๔๙๐
ปีที่ออกผนวช  พ.ศ. ๒๔๓๙

ประวัติโดยย่อ ผลงานที่โดดเด่น

เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ตำบลวัดม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เมื่ออายุย่าง ๙ ขวบเป็นศิษย์วัดเล่าเรียนอักขรสมัยเบื้องต้นทั้งภาษาไทย และบาลี ในสำนักพระศากยบุติยวงศ์ (หนู) วัดอรุณราชวราราม เมื่อพระศากยบุตติยวงศ์มรณภาพ จึงไปเล่าเรียนสำนักพระมหาเปลี่ยน เปรียญ ๔ ประโยควัดอรุณราชวราราม และสำนักพระยาธรรมปรีชา (ทิม) 

พ.ศ. ๒๔๓๓ อายุได้ ๑๕ ปีก็บรรพชาเป็นสามเณร ครั้นพระมหาเปลี่ยนลาสิกขา จึงย้ายมาอยู่วัดพระเชตุพนฯ กับพระอุดรคณารักษ์ (ชุ่ม) เล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) และพระยาธรรมปรีชา (ทิม)

พ.ศ. ๒๔๓๗ สอบพระปริยัติธรรมที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้เปรียญ ๓ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้อุปสมบท ณ วัดอัมพวัน ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรีมีสมเด็จพระวันรัตน (แดง สีลวฑฺฒโน) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วกลับมาอยู่วัดพระเชตุพนฯ เล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระวันรัตน (แดง สีลวฑฺฒโน) สำนักพระพระยาธรรมปรีชา (ทิม) สำนักพระสาสนาโสภณ(อ่อน) วัดราชประดิษฐ์ และสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นและกรมหลวง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ. ๒๔๔๓ สอบได้เปรียญ ๕ ประโยค พ.ศ. ๒๔๔๔ สอบได้เปรียญ ๖ ประโยค พ.ศ. ๒๔๔๕ สอบได้ ๗ ประโยค พ.ศ. ๒๔๔๘ สอบได้ ๘ ประโยค และพ.ศ. ๒๔๔๙ สอบได้เปรียญ ๙ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระศากยบุตติยวงศ์ ทั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ มีหน้าที่บริหารคณะใต้ของวัด 

พ.ศ. ๒๔๖๖ สมัยรัชกาลที่ ๖ โปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพมุนี

พ.ศ. ๒๔๖๙ สมัยรัชกาลที่ ๗ ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม 

พ.ศ. ๒๔๘๒ โปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ตำแหน่งเจ้าคณะรองฝ่ายอรัญวาสี 

พ.ศ. ๒๔๘๔ โปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่สมเด็จพระวันรัต

ทั้งสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) โปรดให้เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์ เป็นกรรมการชำระอรรถกถา ฎีกา โยชนาสัททาวิเสส เป็นสมาชิกสังฆสภา เป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ และเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง

สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน) อาธเป็นโรคที่ต่อมทอลซิลถึงมรณภาพเมื่อวันเสาร์ที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ณ กุฏิคณะเหนือ น. ๑๕ วัดพระเชตุพนฯ อายุ ๗๓ ปีพรรษา ๕๒ จากนั้นมีการสร้างหอสมุด พร้อมหล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงขึ้นถวาย ประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดพระเชตุพนฯ ขนานชื่อว่า “หอสมุด ว.ผ.ต.” และบรรจุอัฐิของท่าน ณ หอสมุดนี้ ส่วนสรีรังคารบรรจุที่พรปรางค์ วัดอัมพวัน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

นอกจากงานบริหารแล้ว ยังปรากฏว่าได้ชำระและตรวจตีพิมพ์พระคัมภีร์บาลี คือ

  • ปรมตฺถทีปนี อรรถกถาปัญจปกรณ์ ได้แก่ อรรถกถาของคัมภีร์อภิธรรม ๕ คัมภีร์
  • ปาลีอภิธัมมัตถสังคหและฏีกา สำหรับเป็นหลักสูตรเรียนบาลีเปรียญ ๙ ประโยค
  • พระสุตตันปิฏก และไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ ได้ชำระขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปิฏก ในสมัยรัชกาลที่ ๗ 
  • มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๙ และพ.ศ. ๒๔๗๐ มีเรื่องเวสสันดรชาดกกัณฑ์มหาวนวรรณนา
  • คู่มือสอนนาค เรียบเรียงขึ้นระหว่างดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปิฏก ตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลราชบุรี เพื่อพระอุปัชฌาย์ใช้ในคราวบรรพชาอุปสมบท

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร ป.ธ. ๖)

ประสูติ ปีวอก ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙    
มรณภาพ  ปีกุน พ.ศ. ๒๕๑๖
ปีที่ออกผนวช  พ.ศ. ๒๔๖๐

ประวัติโดยย่อ ผลงานที่โดดเด่น

พ.ศ. ๒๔๕๕ เมื่อพระชนม์ ๑๖ พรรษา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสองพี่น้อง จากนั้นย้ายไปอยู่กับพระภิกษุสด ซึ่งเป็นอา ณ.วัดเชตุพนฯ จากนั้นเมื่อพระชนม์ ๑๗ พรรษา ทรงลาสิขาจากสามเณร เพราะโยมบิดาป่วยต้องต้องไปช่วยโยมทำนา และทรงบรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่อพระชนม์ ๑๘ พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐  พระชนม์ ๒๒ พรรษา ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่นอง จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๔๗๐ ทรงศึกษาปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค และได้ทรงศึกษา ภาษาอังกฤษกับหลวงประสานบรรณวิทย์ ตลาดนางเลิ้ง ศึกษาภาษาจีนกับนายกมล มลิทอง
พ.ศ. ๒๔๙๑ ทรงครองวัดพระเชตุพนเป็นเจ้าอาวาสในปี ทรงทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์พระอารามของวัดพระเชตุพนฯมาโดยตลอด อีกทั้งยังทรงสร้างพิพิธภัณฑ์พระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ วัดสุวรรณภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ตึกสันติวัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดนทุนส่วนพระองค์ และผู้ที่ถวายในคราวเสด็จเข้ารับการผ่าตัด เมื่อ พ.ศ.  ๒๕๑๖ เป็นต้น
นอกจากทรงแต่งและเรียบเรียงพระธรรมเทศนาแล้ว ยังเคยทรงเขียนบทความเกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลิเมล์ในพระนามว่า “ป. ปุณฺณสิริ” ยังทรงนิพนธ์หนังสืออีก ๒๐ กว่าเรื่อง เมื่อทรงเป็นเลขาธิการ ก.ส.พ. ได้ทรงรวบรวมระเบียบข้อบังคับคณะสงฆ์พิมพ์เป็นเล่มชื่อประมวลอาณัติคณะสงฆ์ และพระนิพนธ์เรื่องสุดท้าย คือ บ่อเกิดแห่งกุศลคือโรงพยาบาล ประเภทธรรมนิกาย เช่น จดหมายสองพี่น้อง สันติวัน พรสวรรค์ เป็นต้น
ด้วยทรงได้รับยกย่องพระเกียรติคุณเป็นอย่างสูง จึงมีพระนามเป็นพิเศษว่า “สมเด็จป๋า” พระเครื่องและเหรียญพระรูป ที่ทรงสร้างขึ้นในวาระต่างๆหรือที่มีผู้มาขออนุญาตพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานกุศล ปรากฏว่าเป็นที่นิยมกันมาก ดังเช่น พระเครื่อง “สมเด็จแสน” พระกริ่ง “สมเด็จฟ้าลั่น” และ “สมเด็จฟ้าแจ้ง”(ธรรมจารี) เป็นต้น
พ.ศ. ๒๕๑๕ ด้านพระสมณศักดิ์ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันศุกร์ที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ด้วยพระอาการอันสงบ หลังจากที่เสด็จเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖ ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน เป็นองค์ที่ ๑๑ เป็นเวลา ๒๖ ปี ๘ เดือน ๓๐ วัน ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชเป็นเวลา ๑ ปี ๔ เดือน ๑๘ วัน สิริพระชนมายุ ๗๗ พรรษา

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (กมล กมโล ป.ธ. ๓)

ชาตะ พ.ศ. ๒๔๕๐    
มรณภาพ  ปีกุน พ.ศ. ๒๕๒๐
ปีที่ออกผนวช  พ.ศ. ๒๔๗๐

ประวัติโดยย่อ ผลงานที่โดดเด่น

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ นามเดิม กมล นามสกุล เครือรัตน์ นามฉายา กมโล เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ เมื่ออายุ ๑๓ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ต่อมาอายุ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ที่วัดพระเชตุพน

พ.ศ. ๒๔๗๐ จากนั้นสอบไล่ได้เป็นเปรียญธรรม ๓ ประโยค สำนักเรียนวัดพระเชตุพน 

พ.ศ. ๒๔๗๑ และสอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดพระเชตุพนในปี พ.ศ. ๒๔๗๓

พ.ศ. ๒๕๑๖  ด้านสมณศักดิ์ เมื่ออายุ ๖๗ ปี ได้รับสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัณยบัฎ ที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์

พ.ศ.๒๕๑๗ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน รูปที่ ๑๒  เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ในระหว่างที่ครองตำแหน่งได้เป็นผู้อำนวยการในการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะถาวรวัตถุและปูชนียสถานวัดพระเชตุพนมาโดยตลอด เช่น บูรณะองค์พระพุทธไสยาส,เจดีย์หมู่ ๕,พระตำหนักวาสุกรี, สร้างตึกกวี เหวียนระวี สร้างกุฏิเจ้าอาวาส รวมทั้งเป็นกรรมการอำนวยการฝ่ายสงฆ์แห่งโรงพยาบาลสงฆ์ เป็นรองประธานมูลนิธิ “ทุนพระพุทธยอดฟ้าในพระบรมราชูปถัมภ์” ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นที่วัดตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี สร้างอาคารสำนักงานสงฆ์จังหวัดขึ้นที่วัดหลวงปรีชากูล อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น

พระวิสุทธาธิบดี (สง่า ปภสฺสโร ป.ธ. ๘)

ชาตะ พ.ศ. ๒๔๕๑    
มรณภาพ  ปีกุน พ.ศ. ๒๕๓๔
ปีที่ออกผนวช  พ.ศ. ๒๔๗๒

ประวัติโดยย่อ ผลงานที่โดดเด่น

พระวิสุทธาธิบดี นามเดิมว่า สง่า เรียนมนัศ เกิดเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ปลายรัชกาลที่ ๕ ณ บ้านตำบลลาดน้ำเค็ม อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดราชบูรณะ กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ย้ายไปศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดพระเชตุพน และสอบไล่ได้เป็นเปรียญธรรม ๔ ประโยค แต่ยังเป็นสามเณร

พ.ศ. ๒๔๗๒ อายุครบที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระเชตุพน และได้ศึกษาอยู่ ณ วัดพระเชตุพนตลอดมา สอบได้นักธรรม และเปรียญธรรมประโยคต่างๆถึงเปรียญธรรม ๕ ประโยค และในปี 

พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่  พระวิสุทธาธิบดี

พระวิสุทธาธิบดี เริ่มมีอาการอาพาธเล็กน้อยตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ครั้งถึงวันเสาร์ที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ ก็ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคไตล้มเหลวและเยื่อสมองอักเสบ สิริรวมอายุได้ ๘๓ ปี พรรษา ๖๒ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน องค์ที่ ๑๓ อยู่ ๑๔ ปี

พระธรรมปัญญาบดี ติสฺสานุกโร วิทยฐานะ น.ธ. โท, ป.ธ.๔

ชาตะ  วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๕๙
มรณภาพ  วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗
ปีที่ออกผนวช  วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๗๙ 
 
ประวัติโดยย่อ  
พระธรรมปัญญาบดี ฉายา ติสฺสานุกโร อายุ ๙๗ พรรษา ๗๗ วิทยฐานะ น.ธ. โท, ป.ธ.๔
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร 
สถานะเดิม
ชื่อ ถาวร นามสกุล เจริญพานิช เกิดวันเสาร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ค่ำ ปีมะโรง วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๕๙ บิดา นายจรัญ เจริญพานิช มารดา นางพุ่ม เจริญพานิช บ้านเลขที่ ๕ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 
บรรพชา 
วันเสาร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๗๔ ณ วัดตราซู ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
พระอุปัชฌาย์ พระครูพรหมจริยคุณ (ดี) วัดแจ้งพรหมนคร ตำบลต้นโพธิ์ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
อุปสมบท วันศุกร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีชวด วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๗๙ ณ วัดตราซู ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
พระอุปัชฌาย์ พระธรรมปิฎก (เผื่อน ติสฺสทตฺโต ป.๙) ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน กรุงเทพมหานคร
พระกรรมวาจาจารย์ พระครูพรหมจริยคุณ (ดี) ภายหลังเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร จังหวัดสิงห์บุรี
พระอนุสาวนาจารย์ พระครูปลัดปิฎกวัฑฒน์ (ฟุ้ง ปุณฺณโก ป.๓) ภายหลังเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพน กรุงเทพมหานคร 
วิทยฐานะ 
พ.ศ.๒๔๗๓ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนชุมชน วัดตราซู อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ.๒๔๓๖ สอบได้ น.ธ.โท สำนักเรียนพระเชตุพน กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๔๘o สอบได้ ป.ธ.๔ สำนักเรียนวัดพระเชตุพน กรุงเทพมหานคร

"ยอมรับคุกกี้" เพื่อให้เว็บไซต์นำเสนอประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับคุณ

เว็บไซต์วัดโพธิ์ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทุกท่าน ( Personal information ) ที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซด์วัดโพธิ์ อ่านเพิ่มเติม